วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

All about me :)



นางสาวจีรนันท์  หาญกิจ
หมู่เรียน 56/16  รหัสนักศึกษา 564145111
โปรแกรมวิชา คอมพิวเตอร์ศึกษา  (คบ.5 ปี)
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม




งานกลุ่ม : infographic ไมโครโปรเซสเซอร์




งานกลุ่ม : infographic หน่วยความจำ (หลัก)


งานกลุ่ม: infographic: ระบบ Bus


งานกลุ่ม: infographic input output port


วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

ชนิดหน่วยความาจำสำรอง แบบต่างๆ

1 ฮาร์ดดิสก์    (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
 ฮาร์ดดิสก์    (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย
ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น ี

ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น



ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD)  


รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟมีตั้งแต่ 2, 4 , 8 , 16 , 32 กิกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive



ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิ

สก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์


 Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ 

แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ 
จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์


เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาด

ใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์




  การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น
  
  



ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/08/web/lesson/lesson_3/lesson_3_2.html








หน่วยความาจำสำรอง


   หน่วยความจำรอง ( Secondary Storage ) หมายถึง หน่วยที่ใช้สำหรับเก็บบันทึก (Save) คำสั่งและข้อมูลเอาไว้อย่างถาวรเพื่อใช้งานในอนาคต หรือเพื่อนำส่งและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับผู้อื่น โดยที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เก็บได้ตลอดเวลา ฮาร์ดแวร์ทีทำหน้าที่ในหน่วยความจำสำรองที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่นดิสเกตต์ แผ่นซีดี แผ่นดีวีดี และยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ ซึ่งแต่ละประเภทจะมีคุณสมบัติและข้อดีข้อเสียในการเก็บข้อมูลต่างกัน

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ http://www.thaigoodview.com/library/contest2553/type1/tech03/16/CD2.html

Port HDM




HDMI เป็นระบบการเชื่อมต่อภาพและเสียงแบบใหม่คะ ย่อมาจากคำว่า (H)igh (D)efinition (M)ultimedia (I)nterface โดย HDMI จะเชื่อมต่อทั้งสัญญาณภาพและเสียงระบบดิจิตอลแบบไม่มีการบีบอัดข้อมูลไว้ในสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ให้ความคมชัดของภาพ มีความละเอียด มีความคมลึกและให้เสียงที่สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่เคยมีมา ขั้วต่อของ HDMI to HDMI จะผลิตจากทองแท้ 24 K  ด้วยนะคะ  ทุกวันนี้ HDMI ถูกนำมาใช้กับอุปกรณ์ Home Theatre หลายอย่างเช่น พลาสม่าทีวี  แอลซีดีทีวี เครื่องเล่นดีวีดี ฯลฯ


ที่มาของเนื้อหาhttp://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5c7e91d5d01614a2
ที่มาของรปภาพhttps://www.google.co.th/search?q=Port+HDMI&hl=th&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=WKkqUtSSGcKQrQeK14GgDw&ved=0CDIQsAQ&biw=1366&bih=667#facrc=_&imgdii=_&imgrc=JY6OEAVqeUbWsM%3A%3BFr7OdGVTBEK42M%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.free.fr%252Fassistance%252Fim%252Ffaq%252Fcru20%252Fphotos%252FVignette%252FvBoitierHD_TV%252FvHDMI1.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.free.fr%252Fassistance%252F628.html%3B310%3B254

Serial Port



Serial port เป็นส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกของคอมพิวเตอร์ เช่น modem mouse keyboard เป็นต้น โดยรูปแบบการสื่อสารของพอร์ทชนิดนี้นั้นจะเป็นการส่งข้อมูลแบบทีละบิต บนมาตรฐานการส่งข้อมูลแบบ RS-232 ซึ่งจะต่างจาก parallel port (ที่จะมีการส่งข้อมูลพร้อมๆ กันทีละหลายๆ บิต) โดยความเร็วของการส่งข้อมูลแบบนี้ จะขึ้นอยู่กับความถี่ที่เลือกใช้ในการส่งข้อมูล

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ   http://jaserialport01.blogspot.com/

VGA Port







         พอร์ตนี้สำหรับต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับมอนิเตอร์ เป็นพอร์ตขนาด 15 พิน ในคอมพิวเตอร์บางเครื่องอาจจะติดตั้งการ์ดสำหรับถอดรหัสสัญญาณ MPEG เพิ่มเข้ามาซึ่งลักษณะของพอร์ตนั้นจะคล้าย ๆ กันแต่การ์ด MPEG จะมีพอร์ตอยู่สองชุดด้วยกันสำหรับเชื่อมไปยังการ์ดแสดงผลหนึ่งพอร์ต และต่อเข้ากับมอนิเตอร์อีกหนึ่งพอร์ต ดังนั้นเครื่องใครที่มีพอร์ตแบบนี้ ก็ควรจะบันทึกไว้ด้วย เพราะไม่งั้นอาจจะใส่สลับกัน จะทำให้โปรแกรมบางตัวทำงานไม่ได้

ที่มาของเนื้อหา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=2b57710d49248852
ที่มาของรูปภาพhttps://www.google.co.th/search?hl=th&q=VGA+Port+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&bav=on.2,or.r_qf.&bvm=pv.xjs.s.en_US.jkEW54nYU50.O&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=-qcqUrm_C8SFrAfAyoDQDw&biw=1366&bih=667&sei=-6cqUoKqJMPSrQfZ1YGwDw#facrc=_&imgdii=_&imgrc=ZqQpJprriK9cxM%3A%3BVvLSOt5gucXibM%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.digital2home.com%252Fuploads%252F2009%252F08%252Fvga.gif%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.digital2home.com%252Ftips%252F2009%252Finside-notebook-ep2%252F%3B641%3B306

Port Fire Wire





เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกความเร็วสูง และยังเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มของอุปกรณ์ที่ต้องการอัตราการส่งผ่าน ข้อมูลสูงๆ เช่น การ์ดตัดต่อวิดีโอหรืออุปกรณ์แบ็กอัพข้อมูลขนาดใหญ่ IEEE 1394 นั้นถูกออกแบบให้เป็นบัสอนุกรมประสิทธิภาพสูง มีลักษณะการทำงานในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ที่จะใช้การต่อเชื่อมเป็นแบบอนุกรม ซึ่งถูกพัฒนาให้มีการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 800 Mbps โดยเรียกกันว่า IEEE 1394 , Fire Wire หรือ I-link ซึ่งเป็นชนิดเดียวกัน
Fire Wire นั้นเป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Apple Computer Inc. ส่วน i-link เป็นชื่อที่จดทะเบียนทางการค้าของ Sony Corporation และสุดท้าย IEEE-1394a (Fire Wire400) และ IEEE-1394b (Fire Wire800) เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อของกลุ่ม IEEE ซึ่งเป็นมาตรฐานของการรับ-ส่งข้อมูลขนาดใหญ่ และความเร็วสูง ระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ
การเชื่อมต่ออีกรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาภายหลังและมีการนำเอามาเปรียบ เทียบกันมากก็คือ มาตรฐาน USB 2.0 ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แต่จะอยู่ในกลุ่มของอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่าง เมาส์, พรินเตอร์ หรือ สแกนเนอร์ โดยจำกัดอยู่ในกลุ่มที่เคยใช้การเชื่อมต่อแบบ USB 1.1 เพราะว่า USB 2.0 ถึงแม้จะมีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูงสุดอยู่ที่ 480Mbps (Fire Wire อยู่ที่ 400Mbps) แต่เมื่อใช้งานจริง Fire Wire กลับมีความเร็วเหนือกว่า เพราะว่าโปรแกรมต่างๆ ในปัจจุบัน สามารถดึงเอาประสิทธิภาพการทำงานของ Fire Wire ออกมาได้มากกว่า (แอพพลิเคชันสำหรับการตัดต่อจากกล้องวิดีโอส่วนใหญ่จะถูกออกแบบมาให้ทำงาน ร่วมกับ Fire Wire มากกว่า) และยังมีข้อเปรียบเทียบอีกอย่างก็คือ USB สามารถใช้งานได้ 1 อุปกรณ์ต่อ 1 พอร์ต USB เท่านั้น (ไม่รวมกรณีที่ใช้ USB hub) ดังนั้นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่จึงมีพอร์ต USB ติดมากับเครื่องเยอะ (อย่างต่ำๆ ก็ 4 พอร์ต) ส่วนการใช้ USB hub ถึงแม้ว่าจะสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายตัวแต่ก็จะทำให้ความเร็วในการใช้ งานลดลง แต่สำหรับ Fire Wire นั้น เนื่องจากใช้พื้นฐานการเชื่อมต่อแบบ Serial (อนุกรม) ทำให้สามารถต่ออุปกรณ์หลายๆ ตัวเรียงกันเป็นลูกโซ่ได้ ซึ่งทำให้สามารถใช้พอร์ต Fire Wire พอร์ตเดียวเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลายชนิด แต่ข้อเสียก็คือผู้ใช้จะต้อง อินเทอร์รัปต์ อุปกรณ์ทุกตัวที่ทำการเชื่อมต่อเสียก่อนจึงทำการถอดอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ออกได้
ในปัจจุบัน Fire Wire ได้รับความนิยมจากผู้ผลิตอุปกรณ์ประเภทตัดต่อ แต่ก็เห็นได้ว่าคลื่นลูกหลังอย่าง USB 2.0 ก็ได้รับความนิยมมากเช่นกัน ซึ่งทำให้กลุ่มผู้พัฒนามาตรฐาน
Fire Wire ได้เปิดตัวมาตรฐาน IEEE 1394b ตัวใหม่ที่สามารถรองรับความเร็วการส่งผ่านข้อมูลได้สูงถึง 800Mbps (S800) และ 1600Mbps (S1600)


ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ http://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/784838-Firewire-port-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3

Port Digital Audio





     การติดต่อการแสดงผลแบบดิจิตอลที่พัฒนาขึ้นโดยสมาคมมาตรฐานอิเล็กทรอนิกส์วิดีโอ (VESA) อินเตอร์เฟซที่ใช้งานเป็นหลักในการเชื่อมต่อแหล่งวิดีโอไปยังอุปกรณ์แสดงผลเช่นจอคอมพิวเตอร์แม้ว่ามันจะยังสามารถใช้ในการส่งสัญญาณเสียง, USB, และรูปแบบอื่น ๆ ของข้อมูล
ข้อกำหนด VESA เป็นค่าภาคหลวงฟรี VESA มันออกแบบมาเพื่อแทนที่ VGA, DVI และ FPD-Link ความเข้ากันได้ย้อนหลังกับ VGA และ DVI โดยใช้อะแดปเตอร์ที่ใช้งาน dongles ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้แหล่งวิดีโอโดยไม่ต้องติดตั้ง DisplayPort เปลี่ยนอุปกรณ์แสดงผลที่มีอยู่
รุ่นแรก, 1.0 ได้รับการอนุมัติโดย VESA เมื่อ 3 พฤษภาคม 2006. เวอร์ชั่น 1.1a ได้รับการอนุมัติเมื่อ 2 เมษายน 2007 ตามมาตรฐานปัจจุบัน 1.2 เมื่อ 22 ธันวาคม 2009.

ที่มาของรูปภาพ  https://www.google.co.th/search?
ที่มาของเนื้อหา   http://en.wikipedia.org/wiki/DisplayPort








Port Digital Video



พอร์ตที่เรียกว่าเป็นอาร์ซีเอหรือพอร์ตวิดีโอส่วนที่มีร่วมกันในระดับ high-end กล้องวิดีโอดิจิตอล พวกเขาใช้ชุดของสามหลุมสีสำหรับติดสายสามง่าม (หรือชุดของสายเดียวง่าม) พอร์ต A / V ที่ใช้พอร์ตสีแดงและสีขาวสำหรับทั้งสองช่องทางของเสียงและพอร์ตสีเหลืองที่สามสำหรับวิดีโอ กล้องบางรวมทั้งยังมี S-วิดีโอหรือ HDMI พอร์ตวิดีโอสำหรับการเชื่อมต่อโดยตรงไปยังดาดฟ้าโทรทัศน์หรือวิดีโอ
ที่มาของเนื้อหา http://www.ehow.com/list_7298714_types-camera-port-connections.html
ที่มาของรูปภาพhttp://news.siamphone.com/news-13585.html

Port Digital Camera





กล้องดิจิตอลที่สามารถจับภาพและวิดีโอที่มีคุณภาพสูงมากและนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดความไม่สมบูรณ์โดยอัตโนมัติและปรับองค์ประกอบแสงเพื่อผลิตภาพที่ดีที่สุด รับไฟล์ลงในหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอสำหรับการแก้ไขหรือการจัดนิทรรศการอาศัยกล้องเชื่อมต่อพอร์ตที่ใช้หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งสายมาตรฐานในการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่





ที่มาของเนื้อหาhttp://www.ehow.com/list_7298714_types-camera-port-connections.html
                 ที่มาของรูปภาพ https://www.google.co.th/search?



Port Keyboard


พอร์ตคีย์บอร์ด


พอร์ตแป้นพิมพ์ควรจะได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในวิธีการที่ดีที่สุดในช่วงต้นของการเชื่อมต่อการควบคุมของคุณเที่ยวบินรองดาดฟ้าซอฟแวร์ซิมของคุณ หลังจากที่เกมพอร์ตหรือพอร์ต USB ขึ้นอยู่กับชนิดของเที่ยวบินหลักของการควบคุมที่คุณใช้พอร์ตแป้นพิมพ์มีความยืดหยุ่นมากที่สุดในการควบคุมการทำงานของซิมของคุณ 



ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ: http://www.mikesflightdeck.com/interfacing/keyboard_port.html

Port Mouse



เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ตด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้Color Key แสดงเอาไว้ สีเขียวคือต่อสายเม้าส์ ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ http://xn--l3cjd0am3d7g6d.blogspot.com/2010/05/ps2-mouse-ps2-keyboard-port.html

Port Scanner



    เป็นหนึ่งในเทคนิคที่โด่งดังที่สุดที่ผู้โจมตีใช้ในการค้นหาบริการที่พวกเขาจะสามารถเจาะผ่านเข้าไปยังระบบได้ โดยปกติแล้วทุก ๆ ระบบที่ต่อเข้าสู่ระบบ LAN หรือระบบอินเทอร์เน็ตจะเปิดบริการทั้งที่อยู่บนพอร์ตที่เป็นที่รู้จักและที่ไม่เป็นที่รู้จัก สำหรับการทำ Port Scanning นั้น ผู้โจมตีจะสามารถค้นหาข้อมูลได้มากมายจากระบบของเป้าหมาย ได้แก่ บริการอะไรบ้างที่กำลังรันอยู่ ผู้ใช้คนไหนเป็นเจ้าของบริการเหล่านั้น สนับสนุนการล็อกอินด้วย anonymous หรือไม่ และบริการด้านเครือข่ายมีการทำ authentication หรือไม่ การทำ Port Scanning ทำได้โดยการส่งข้อความหนึ่งไปยังแต่ละพอร์ต ณ เวลาหนึ่ง ๆ ผลลัพธ์ที่ตอบสนองออกมาจะแสดงให้เห็นว่าพอร์ตนั้น ๆ ถูกใช้อยู่หรือไม ่และสามารถทดสอบดูเพื่อหาจุดอ่อนต่อไปได้หรือไม่ Port Scanners มีความสำคัญต่อผู้ชำนาญด้านความปลอดภัยของเครือข่ายมากเพราะว่ามันสามารถเปิดเผยจุดอ่อนด้านความปลอดภัยที่มีความเป็นไปได้ของระบบเป้าหมาย 

ถึงแม้ว่า Port Scans สามารถเกิดขึ้นกับระบบของคุณ แต่ก็สามารถตรวจจับได้และก็สามารถใช้เครื่องมือที่เหมาะสมมาจำกัดจำนวนของข้อมูลเกี่ยวกับบริการที่เปิดได้ ทุกๆระบบที่เปิด สู่สาธารณะจะมีพอร์ตหลายพอร์ตที่เปิดและพร้อมให้ใช้งานได้ โดยมีการจำกัดจำนวนพอร์ตที่จะเปิดให้แก่ผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตและปฏิเสธการเข้าถึงมายังพอร์ตที่ปิด


ที่มาของเนื้อหา http://www.compspot.net/index.php?ption=com_content&task=view&id=329&Itemid=46
ที่มาของรูปภาพ  https://www.google.co.th/search?hl=th&q=port+scanner+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&bav=on.2,or.r_qf.&biw=1366&bih=667&bvm=pv.xjs.s.en_US.jkEW54nYU50.O&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=mZ0qUtDEDsKLrQfTu4DIDw#facrc=_&imgdii=_&imgrc=tPtptdIsfHxyHM%3A%3Bai04BSLmHm5voM%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.bloggang.com%252Fdata%252Ft%252Fthirawat%252Fpicture%252F1345019237.jpg%3Bhttp%253A%252F%252Fwww.bloggang.com%252Fmainblog.php%253Fid%253Dthirawat%2526month%253D15-08-2012%2526group%253D3%2526gblog%253D15%3B250%3B250

วิวัฒนาการ Port USB



USB ย่อมาจาก Universal Serial Bus ถูกวางโดยบริษัทยักษ์ใหญ่ ผู้นำทางด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า อิเล็คทรอนิคส์ และคอมพิวเตอร์ ช่วยกันวางมาตรฐาน โดยในยุคเริ่มแรกนั้น ก็มี COMPAQ, IBM, DEC, Intel, Microsoft, NEC และ Northern Telecom มาตรฐานของ USB นั้น ออกสู่สาธารณะชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี พ.ศ.2537 ด้วย Revision 0.7 และได้ปรับปรุงแก้ไขเรื่อยมา จนกระทั่ง เมื่อ วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2539 ออกมาเป็น Revision 1.0 (USB1.0)ได้สำเร็จและยังได้ปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ จนเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2541 ได้เป็น Revision 1.1 (USB 1.1)
แต่ความเร็วของ USB ในขณะนั้น ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้นทางกลุ่มผู้พัฒนา หรือ USB-IF (USB Implementers Forum, Inc.) ได้ร่างมาตรฐาน USB รุ่นใหม่ และได้ข้อสรุป เป็นมาตรฐานที่แน่นอน คือ USB 2.0 ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2543 สำหรับความเร็วในการ รับ-ส่ง ข้อมูลนั้น USB1.1 จะมีความเร็วอยู่ที่ 12 Mbps ส่วน USB 2.0 นั้น รองรับระดับการรับส่งข้อมูลได้ถึง 3 ระดับ คือ
  • ความเร็ว 1.5 Mbps (Low Speed) สำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องส่งข้อมูลคราวละมากๆ
  • ความเร็ว 12 Mbps (Full Speed) สำหรับการเชื่อมต่อกับ USB 1.1
  • ความเร็ว 480 Mbps (Hi-Speed) สำหรับการเชื่อมต่อUSB 2.0 ด้วยกัน
ที่มาของเนื้อหา  http://www.justusers.net/knowledges/usb.htm

Port Output


     เมื่อมีการส่งข้อมูลที่มีค่าเป็น 0 ให้กับแต่ละบิตของพอร์ตทุกพอร์ต ข้อมูลนี้จะถูกส่งให้กับฟลิปฟลอปซึ่งจะค้างค่านี้ไว้ และมีผลทำให้ทรานซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่ขับสัญญาณเอาต์พุตนั้นทำงาน ดังนั้นขาสัญญาณก็จะมีสภาวะ ลอจิกเป็นลอจิกต่ำส่วนการส่งข้อมูลที่มีค่าเป็น 1 ออกมานั้น ในกรณีที่เป็นการทำงานในแต่ละบิตของพอร์ต 1,2 หรือ 3 จะทำ ให้ทรานซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่ขับสัญญาณเอาต์พุตนั้นหยุดการทำงาน มีผลทำให้ขาของสัญญาณเป็นลอจิกสูงด้วยตัว ต้านทานที่ Pull-up อยู่ภายในนั้น แต่สำหรับการทำงานในแต่ละบิตทางพอร์ต 0 นั้นจะมีผลที่แตกต่างออกไป โดยขา สัญญาณจะเป็นสภาวะอิมพีแดนซ์สูงแทน เนื่องจากไม่มีตัวต้านทานภายในเชื่อมต่ออยู่นั่นเอง ดังนั้นในการใช้งานพอร์ต 0 เป็นการเอาต์พุตข้อมูล จึงจำเป็นต้องใช้ตัวต้านทานภายนอก Pull-up สัญญาณไว้กับลอจิกสูงแทน    ความสามารถอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับพอร์ตอินพุต/เอาต์พุตของ 8051 เป็นวิธีการอ่านลิจิกจากพอร์ตซึ่งมีได้สองวิธีคือ การอ่านค่าลอจิกที่ขาสัญญาณ (Port pin) และวิธีการอ่านลอจิกของการแลตช์ที่พอร์ต (Port latch) ดังจะสังเกตได้จากรูปที่ 4.2 วิธีการอ่านค่าจากพอร์ต ทั้งสองแบบนี้จะช่วยให้ระบบทำงานได้ด้วยความถูกต้องมาก ยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากว่าพอร์ตถูกนำไปต่อกับขาเบสของทรานซิสเตอร์แบบ NPN และขาอิมิตเตอร์ต่อกับกราวด์ ของระบบ เมื่อมีการส่งค่า 1 ออกไปจะมีผลทำให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน ในขณะนั้นถ้าซีพียูมีการอ่านค่าลิจิกจากขา สัญญาณของพอร์ตนี้ก็จะได้ค่าลอจิกต่ำเนื่องจาก
มองเห็นค่าศักย์ไฟฟ้าระหว่างขาเบสและขาอิมิตเตอร์ซึ่งมีค่าประมาณ 0.6 โวลต์แทนดังนั้นในกรณีเช่นนี้หากว่าเป็นการอ่านค่าจากลอจิกของการแลตช์ ก็จะได้รับค่าระดับลอจิกสูงซึ่งเป็นค่า ที่ถูกต้องสภาพที่เป็นจริง


ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ http://www.cpe.ku.ac.th/~yuen/204471/micro/mcs51/8051_5.html

Port Input

    

                       



    การใช้งานพอร์ตเป็นการอินพุตข้อมูลจะต้องเริ่มด้วยการส่งข้อมูลที่มีค่าเป็น 1 ออกมาทางบิตของพอร์ต นั้น    ก่อนเป็นลำดับแรก เพื่อหยุดการทำงานของทรานซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่ขับสัญญาณเอาต์พุตของบิตนั้น ทำให้ขาสัญญาณของบิตถูกต่อเข้ากับตัวต้านทานซึ่งทำหน้าที่ Pull-up ภายในซึ่งมีผลให้บิตนั้นๆของพอร์ต 1,2 และ 3 เป็น สภาวะของลอจิกสูง ตัวต้านทานนี้มีค่าประมาณ 50 K โอห์ม ซึ่งเป็นค่าที่สูงมาก และทำให้อุปกรณ์ภายนอกสามารถขับสัญญาณของพอร์ตเหล่านี้เป็นลอจิกต่ำได้ง่าย สำหรับบิตของพอร์ต 0 นั้น แม้ว่าจะมีหลักการทำงานที่คล้ายคลึงกัน กับบิตของพอร์ตอื่นๆ แต่เนื่องจากการที่ไม่มีตัวต้านทานทำหน้าที่ Pull-up ภายในไว้ ทำให้เมื่อทรานซิสเตอร์ที่ทำหน้าที่ ขับสัญญาณเอาต์พุตนั้นหยุดการทำงาน ก็จะเป็นผลให้ขาสัญญาณนี้อยู่ในสภาวะอิมพีแดนซ์สูงแทน 

ที่มาของรูปภาพ https://www.google.co.th/search?hl=th&q=port+input+%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD&bav=on.2,or.r_qf.&biw=1366&bih=667&bvm=pv.xjs.s.en_US.jkEW54nYU50.O&um=1&ie=UTF-8&tbm=isch&source=og&sa=N&tab=wi&ei=5poqUtOJJ8XZrQeV2oGoDw#facrc=_&imgdii=_&imgrc=-frUVUcaqzzAiM%3A%3B9BHhHFy__Aa0tM%3Bhttp%253A%252F%252Fkhrutik.files.wordpress.com%252F2012%252F12%252Fimage015.png%253Fw%253D500%2526h%253D229%3Bhttp%253A%252F%252Fkhrutik.wordpress.com%252Ftag%252Fbricx-command-center%252F%3B500%3B230

ที่มาของเนื้อหาhttp://www.cpe.ku.ac.th/~yuen/204471/micro/mcs51/8051_5.html

Control Port


Control Port

        ระบบควบคุมขนาดเล็กซึ่งเทียบได้กับระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งชุด กล่าวคือ ไมโครคอนโทรลเลอร์ได้รวบรวม  ระบบประมวลผลCPU (Central Processing Unit) หน่วยความจำ (Memory) และ พอร์ต            (I/O Port) ไว้ในโมดูล เดียวกัน   ซึ่งแตกต่างจากไมโครเซสเซอร์ตรงที่ ไมโครโปรเซสเซอร์จะต้องต่ออุปกรณ์ หน่วยความจำและพอร์ตอินเตอร์เฟสข้างนอก เนื่องจากไมโครคอนโทรลเลอร์มีขนาดเล็ก มียืดหยุ่น และความสามารถสูง จึงนิยมฝังไว้ในอุปกรณ์ทางไฟฟ้าหรือ อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้น เช่น ทีวี เครื่องซักผ้า มือถือ รีโมท กล่อง ECU รถยนต์ เครื่องบิน หรือ แม้กระทั่ง บางส่วนของยานอวกาศ


ที่มาของเนื้อหา  http://mis.csit.sci.tsu.ac.th/grit/grit02.html

วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

โครงสร้าง Port

โครงสร้างของพอร์ต


        การที่จะให้ไมโครคอนโทรลเลอร์ติดต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ เช่นการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอก (INPUT)หรือการส่งข้อมูลให้กับอุปกรณ์ภายนอก (OUTPUT) ก็จะต้องติดต่อผ่านพอร์ต (PORT) หรืออาจกล่าวได้ว่าพอร์ตคือช่องทางสำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่งไมโครคอนโทรลเลอร์กับอุปกรณ์ภายนอกนั้นเอง

รูป 1 แสดงโครงสร้างภายในของพอร์ต

1.1 การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นพอร์ตอินพุต (INPUT PORT)
        การกำหนดให้พอร์ตหรือบิตใดๆ ของไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นพอร์ตอินพุต หรือส่วนในการรับค่าของข้อมูลเข้ามาดังแสดงในรูป 5.2 จะเริ่มต้นด้วยการเขียนข้อมูลให้กับพอร์ตหรือบิตนั้นๆ เป็นสถานะลอจิก "1" แล้วจึงส่งไปแต่ละบิตของพอร์ตที่ต้องการใช้งาน เพื่อให้เป็นพอร์ตอินพุต เช่นใช้คำสั่ง MOV P3, #0FFH หรือคำสั่ง SETB P1.5 จะทำให้วงจรส่วนของการคงสภาวะข้อมูล หรือวงจรแลตซ์(Latch)* ซึ่งสร้างมาจากวงจร ดี ฟลิป-ฟลอป (D flip-flop) จะให้เอาต์พุต Q มีสถานะลอจิกเป็น "1" แล้วจะผ่านไปที่วงจรกลับสัญญาณ (Inverter) เพื่อให้หยุดการทำงานของเฟต (FET)* ซึ่งจะทำให้ขาสัญญาณของพอร์ตถูกเชื่อมต่อเข้ากับวงจรพูลอัป * ที่เป็นตัวต้านทานภายใน (Internal Pull up) โดยตรง ส่งผลให้ขาพอร์ตนั้นมีสถานะลอจิกเป็น "1" และสามารถจะรับสัญญาณที่เป็นลอจิก "0" จากอุปกรณ์ภายนอกได้ ข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกที่ต่ออยู่ก็จะถูกส่งเข้ามาเก็บไว้ในวงจรบัฟเฟอร์ภายในพอร์ต เพื่อรอให้ซีพียูมาทำการอ่านค่าเข้าไป ดังนั้นอุปกรณ์ภายนอกที่เราจะนำมาเชื่อมต่อกับพอร์ตอินพุต จึงนิยมกำหนดให้ทำงานในสภาวะลอจิก "0"

รูป 2 แสดงการกำหนดเป็นพอร์ตอินพุตโดยให้สถานะเป็น "1" ตำแหน่งบิตที่ต้องการ
1.2 การอ่านค่าลอจิกจากพอร์ต
        การอ่านค่าลอจิกจากพอร์ตทำได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ การอ่านค่าจากขาพอร์ตโดยตรง (Read Pin) และ การอ่านค่าจากวงจรแลตซ์ของแต่ละพอร์ต (Read Latch) ในกรณีที่พอร์ตต่อกับขาเบสของทรานซิสเตอร์ * ชนิด NPN ให้เป็นทรานซิสเตอร์สวิตซ์ และที่ขาอิมิตเตอร์ของทรานซิสเตอร์ต่อลงกราวด์ (ดูรูป 5.3 ประกอบ) ถ้าหากมีการส่งข้อมูลให้เป็นลอจิก "1" ไปยังทรานซิสเตอร์ จะทำให้ทรานซิสเตอร์ทำงาน (นำกระแส) ส่งผลให้สถานะลอจิกที่ขาพอร์ตเป็นลอจิก "0" ด้วยเหตุผล เมื่อทรานซิสเตอร์นำกระแส จะเสมือนว่าขาพอร์ตนั้นถูกต่อลงกราวด์ ( VBE=0.6 V * ) ดังนั้นถ้าหากอ่านค่าลอจิกที่ขาพอร์ตโดยตรง (Read Pin) จะได้ผลตรงกันข้ามกับค่าลอจิกที่ส่งออกมา แต่ถ้าหากทำการอ่านค่าลอจิกที่วงจรแลตซ์ (Read Latch) จะได้สถานะลอจิกตรงกับค่าที่ส่งออกพอร์ตจริง ด้วยเหตุผลนี้ในการอ่านค่าลอจิกจากพอร์ตจึงต้องเลือกวิธีการให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่นำมาต่อด้วย

รูป 3 แสดงสถานะของทรานซิสเตอร์ชนิด NPN เมื่อนำมาต่อเป็นทรานซิสเตอร์สวิตซ์
1.3 การใช้งานไมโครคอนโทรลเลอร์ให้เป็นพอร์ตเอาต์พุต(OUTPUT PORT)

       การกำหนดให้มีลักษณะเป็นพอร์ตเอาต์พุต เราสามารถจะส่งข้อมูลที่เป็นลอจิกที่ต้องการออกไปได้โดยตรง เช่นถ้าเราต้องการส่งข้อมูลที่เป็นสถานะลอจิก "0" ออกไปทางพอร์ต P1 ทั้ง 8 บิต ก็สามารถที่จะเขียนโดยใช้คำสั่ง MOV P1,#00H จะทำให้เอาต์พุตของวงจรแลตซ์เป็นสถานะลอจิก "0" ซึ่งจะส่งต่อไปให้กับวงจรกลับสัญญาณทำให้มีสถานะลอจิกเป็น "1" แล้วจึงส่งต่อไปขับเฟต(FET) ให้ทำงาน ส่งผลให้ตำแหน่งของพอร์ตที่กำหนดให้ทำงานจะเป็นสถานะลอจิก "0" ในทำนองเดียวกันถ้าหากเราต้องการจะส่งข้อมูลลอจิก "1" ออกไป ก็สามารถเขียนข้อมูล "1" ไปยังวงจรแลตซ์ วงจรขับก็จะหยุดการทำงานเป็นผลทำให้ที่ขาของพอร์ตเชื่อมต่อกับวงจรพูลอัปภายในเกิดเป็นสถานะลอจิก "1" ที่ขาพอร์ตนั้น ซึ่งจะคล้ายกับการกำหนดให้เป็นขาอินพุต เพียงแต่แตกต่างกันที่กระบวนการในการเคลื่อนย้ายข้อมูล โดยถ้าเป็นอินพุต จะมีสัญญาณมาอ่านข้อมูลที่บัฟเฟอร์ แต่ถ้าเป็นเอาต์พุตจะไม่มีการอ่านข้อมูลที่บัฟเฟอร์แต่อย่างใด เว้นแต่ในกรณีที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลที่ส่งออกมาทางเอาต์พุตเท่านั้น

   ไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์เบอร์ AT89CX051 ที่ตำแหน่งพอร์ตสามารถเป็นทั้งอินพุตพอร์ตและเอาต์พุตพอร์ต และที่พอร์ตจะมี
Resister Pull up ไว้ภายในแล้ว ยกเว้นที่พอร์ต P1.0 และ P1.1 ต้องใช้ R Pull Up จากภายนอก การใช้งานเป็นพอร์ตเอาต์พุตในแต่ละบิต ของแต่ละพอร์ตมีความสามารถในการรับกระแสเข้าหรือที่เรียกว่า กระแสซิงค์ (Sink current) ได้สูงสุด 20mA และทุกขารวมกันในแต่ละพอร์ต ในกรณีที่ใช้งานพร้อมกัน จะสามารถรับกระแสเข้าได้รวมกันสูงสุดไม่เกิน 80 mA ดังนั้นในการใช้งานทุกขาเป็นพอร์ตเอาต์พุต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความสามารถในการรับกระแสเข้าจึงควรต่อวงจรบัปเฟอร์ ทางเอาต์พุตเพื่อช่วยป้องกัน ไอซีเสียหายจากการรับกระเข้าเกินกำหนด แต่ในวงจรที่เราใช้ทดลองจะมีไอซี 74HCT245 ต่อไว้ให้แล้ว

       ที่ตำแหน่งของบิตเมื่อให้เอาต์พุตมีสัญญาณออกเป็นลอจิก "0" จะรับกระแสเข้ามาเรียกว่า IOL (Sink Current)
       ที่ตำแหน่งของบิตเมื่อให้เอาต์พุตมีสัญญาณออกเป็นลอจิก "1" จะมีกระแสจ่ายออกมาเรียกว่า IOH (Source Current)


ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ  http://adisak-diy.com/page28.html

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

(disk drive)

เครื่องจานแม่เหล็ก (disk drive)







เครื่องจานแม่เหล็ก (disk drive) เป็นเครื่องที่ใช้อ่านและบันทึกข้อมูลบนจานแม่เหล็ก มีหลักการทำงานคล้ายเครื่องเล่นจานเสียงธรรมดาทั่ว ๆ ไป แต่แทนที่จะมีเข็มกลับมีหัวอ่านและหรือหัวบันทึก (read-write head) คล้ายเครื่องแถบแม่เหล็กที่เคลื่อนที่เข้าออกได้ เครื่องจานแม่เหล็ก มีสองแบบ คือ แบบจานติดอยู่กับเครื่อง (fixed disk) และแบบยกจานออกเปลี่ยนได้ (removable disk)
จานแม่เหล็กส่วนใหญ่ทำด้วยพลาสติก มีรูปร่างเป็นจานกลมคล้ายจานเสียงธรรมดา แต่ฉาบผิวทั้งสองข้างด้วยสารแม่เหล็กเฟอรัสออกไซด์ การบันทึกทำบนผิวของสารแม่เหล็กแทนที่จะเซาะเป็นร่องเล็ก ๆ การอ่านและการบันทึกข้อมูลกระทำโดยใช้หัวอ่านที่ติดตั้งไว้บนแผงที่สามารถเลื่อนเข้าออกได้
ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้บนรอยทางวงกลมบนผิวจานซึ่งมีจำนวนต่าง ๆ เช่น 100-500 รอยทาง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของจานมีตั้งแต่ 1-3 ฟุต สามารถบันทึกตัวอักษรได้หลายล้านตัวอักษร การบันทึกใช้บันทึกทีละบิตโดยใช้แปดบิตต่อหนึ่งไบต์ จานแม่เหล็กหมุนเร็วประมาณ 1,500-1,800 รอบต่อนาที สามารถค้นหาข้อมูลด้วยเวลาเฉลี่ยประมาณ 50 มิลลิวินาที สามารถย้ายข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงถึง 320,000 ไบต์ต่อวินาที ขอให้เราสังเกตว่าเวลาเฉลี่ยเหล่านี้เป็นเวลาที่ช้ากว่าเครื่องรุ่นใหม่ ๆ มาก
ถ้าต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมาก เขาจะใช้จานแม่เหล็กที่มีจำนวน 2 หรือ 6 หรือ 12 จานมาติดตั้งซ้อนกันตามแนวดิ่ง รวมกันเป็นหนึ่งหน่วย เรียกว่า ดิสก์แพ็ค (disk pack) ซึ่งเราสามารถยกดิสก์แพ็คเข้าออกจากเครื่องได้ การทำเช่นนี้ ทำให้จานแม่เหล็กสามารถทำหน้าที่คล้ายแถบแม่เหล็ก

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/ddisk.html

(Optical Disk)

จานแสง (Optical Disk)

http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/cdrom2.jpg
.....จานแสง  ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ฮาร์ดดิสก์มีบทบาทและความสำคัญต่อการใช้งานสูงมาก ความจุของอาร์ดดิสก์ได้เพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่มีความจุเพียง 10 เมกะไบต์ ในปัจจุบันมีความจุหลายร้อยเมกะไบต์ ราคาของฮาร์ดดิสก์ก็ลดต่ำลงจนทำให้ขนาดความจุต่อราคาถูกลงมาก และมีผลดีกว่าการใช้แผ่นบันทึกข้อมูล ไมโครคอมพิวเตอร์จึงมีฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์พื้นฐานประกอบอยู่ด้วยเสมอ ถึงแม้ว่าฮาร์ดดิสก์จะได้รับการพัฒนาไปมากแล้วก็ตาม แต่ความต้องการใช้แหล่งเก็บข้อมูลขนาดเล็กที่สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและพกพาได้สะดวกก็ยังมีอยู่ แม้แผ่นบันทึกข้อมูล 3.5 นิ้วสะดวกในการพกพา แต่ความจุยังไม่พอกับความต้องการ เพราะโปรแกรมสมัยใหม่จะเป็นโปรแกรมที่ต้องใช้เนื้อที่มาก ดังนั้นจึงมีการพัฒนาแหล่งเก็บข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีจานแสง (optical disk)
จุดเด่นที่สำคัญของจานแสง คือ การอ่านหรือบันทึกข้อมูลที่ไม้ต้องให้หัวอ่านกดลงหรือสัมผัสกับจาน การอ่านจะใช้ลำแสงส่องและสะท้อนกลับ จานก็มีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่อ่าน ไม่ต้องกลับหัวอ่าน และคงทนมีอายุการใช้งานได้ยาวนาน
จานแสงเป็นเทคโนโลยีที่มีการแข่งขันในเชิงการผลิต พัฒนาการของจานแสงเติบโตค่อนข้างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ใช้กับเครื่องเสียงและวีดีโอ ด้วยเหตุนี้เองการนำจานแสงมาใช้ในงานด้านข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เทคโนโลยีทางด้านจานแสง ที่กำลังได้รับการนำมาใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ในขณะนี้ มี 3 เทคโนโลยี

เทคโนโลยีแรก คือ ซีดีรอม (Compack Disk Read only Memory : CDROM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานแสงกับเครื่องเสียงสเตอริโอ การใช้ซีดีรอมในระบบคอมพิวเตอร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บข้อมูลจำนวนมาก และสามารถเก็บข้อมูล ในรูปข้อความ ข่าวสาร รูปภาพ เสียงรวมทั้งภาพวีดีโอไว้ในแผ่นซึ่งพร้อมที่จะนำมาใช้ได้ทันที แผ่นซีดีรอมหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูลได้ถึงสามแสนหน้าหรือเทียบได้กับหนังสือ 150 เล่ม
หน่วยขับซีดีรอมเป็นสิ่งที่ต้องต่อเพิ่มลงในระบบคอมพิวเตอร์ และหากให้หน่วยขับซีดีรอม 
มีช่องสัญญาณต่อกับเครื่องขยายเสียงจะทำให้ใช้ร่วมกันกับแผ่นที่ใช้เล่นเพลงได้หน่วยขับซีดีรอมในปัจจุบันมีราคาไม่แพง ส่วนใหญ่ใช้เก็บข้อมูล สารานุกรม คัมภีร์ไบเบิล แผ่นที่ ข้อมูลงานวิจัย หรือเอกสารทางวิชาการที่สำคัญ การใช้ซีดีรอมเก็บโปรแกรม ผู้ขายซอฟต์แวร์จะนำโปรแกรมทั้งหมดบรรจุในแผ่นซีดีรอมตามมาตรฐาน ISO 9600 มีความจุที่ใช้ 600 เมกะไบต์ การเชื่อมต่อกับไมโครคอมพิวเตอร์มักใช้แผงวงจรควบคุม

เทคโนโลยีที่สอง คือ เวิร์ม (Write Once Read : WORM) เทคโนโลยีนี้ให้ผู้ใช้เขียนข้อมูลลงไปได้เพียงครั้งเดียว แต่อ่านได้หลายครั้ง เวิร์มเป็นเทคโนโลยีโดดเดี่ยว เพราะแนวทางการพัฒนาไม่ได้พัฒนาจากเทคโนโลยีใด ตัวแผ่นเป็นโลหะ ใช้เทคโนโลยีเลเซอร์ การที่ทำให้แผ่นสามารถเขียนได้หนึ่งครั้งนี้เองจึงทำให้แตกต่างจากซีดีรอม ปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานที่กำหนดออกมาเฉพาะ บริษัทที่ผลิตยังใช้รูปแบบแตกต่างกัน ปัจจุบันองค์การว่าด้วยเรื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standard Organization : ISO) พยายามกำหนดความจุไว้ที่ 650 เมกะไบต์ แต่สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute : ANSI) ได้กำหนดความจุที่ 1.2 จิกะไบต์ เวิร์มจึงเป็นจานแสงชนิดหนึ่งที่ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลเข้าไปเก็บได้และเก็บไว้อย่างถาวร
เทคโนโลยที่สาม คือ เทคโนโลยีที่จะทำให้จานแสงสมบูรณ์แบบ กล่าวคือ สามารถเขียนอ่านได้เหมือนฮาร์ดดิสก์ จึงมีชื่อเรียกหลายชื่อ เช่น จานแสงแม่เหล็ก และจานแสงที่เขียนซ้ำได้ เป้าหมายสุดท้ายที่ต้องการของจานแสงคือ ทำให้มีคุณสมบัติเหมือนฮาร์ดดิสก์สามารถเขียนอ่านข้อมูลได้ โดยรวมข้อดีไว้หลายประการ เช่น ความจุ ความคงทนของข้อมูลเก็บไว้ได้นาน ไม่ขึ้นกับสนามแม่เหล็ก ใช้งานง่าย มีขนาดเล็ก และที่สำคัญต้องเขียนอ่านได้เร็ว เทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างจานแสงที่เขียนอ่านได้ จึงมีหลายเทคโนโลยีแตกต่างกันไป เช่น ใช้คุณสมบัติแม่เหล็กผสมกับแสง แสงที่ใช้เป็นแสงเลเซอร์ นอกจากนี้มีการใช้เทคโนโลยีที่ทำให้แสงเลเซอร์ตกกระทบพื้นผิวของแผ่น ส่วนอีกเทคโนโลยีหนึ่งเป็นการใช้คุณสมบัติของผลึกในเนื้อสารที่เปลี่ยนไปกับแสงเลเซอร์
ในบรรดาเทคโนโลยีทั้งสามที่กล่าวถึง ซีดีรอมเป็นเทคโนโลยีที่เติบโตและใช้งานอย่างกว้างขวาง จึงมีการนำมาใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ มากมาย

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพhttp://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/disk.html

(Hard Disk)




ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) (หน้า 1/2)
Hard Disk   คือ  อุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลได้มาก  สามารถเก็บได้อย่างถาวรโดยไม่จำเป็นต้องมีไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา  เมื่อปิดเครื่องข้อมูลก็จะไม่สูญหาย ดังนั้น  Hard Disk  จึงถูกจัดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บระบบปฏิบัติการ  โปรแกรม  และข้อมูลต่าง  ๆ  เนื่องจาก  Hard Disk  เป็นอุปกรณ์ที่ง่ายต่อการอัพเกรดทำให้เทคโนโลยี  Hard Disk  ในปัจจุบันได้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นการเลือกซื้อ  Hard Disk   จึงควรคำนึงซึ่งประสิทธิภาพที่จะได้รับจาก  Hard Disk
ส่วนประกอบของ Hard Disk 
1. แขนของหัวอ่าน ( Actuator Arm ) ทำงานร่วมกับ Stepping Motor ในการหมุนแขนของหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม สำหรับการอ่านเขียนข้อมูล โดยมีคอนโทรลเลอร์ ทำหน้าที่แปลคำสั่งที่มาจากคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็เลื่อนหัวอ่านไปยังตำแหน่งที่ต้องการ เพื่ออ่านหรือเขียนข้อมูล และใช้หัวอ่านในการอ่านข้อมูล ต่อมา Stepping Motor ได้ถูกแทนด้วยVoice Coil ที่สามารถทำงานได้เร็ว และแม่นยำกว่า Stepping Motor
2 . หัวอ่าน ( Head ) เป็นส่วนที่ใช้ในการอ่านเขียนข้อมูล ภายในหัวอ่านมีลักษณะเป็น ขดลวด โดยในการอ่านเขียนข้อมูลคอนโทรลเลอร์  จะนำคำสั่งที่ได้รับมาแปลงเป็นแรงดันไฟฟ้าแล้วป้อนเข้าสู่ขดลวดทำให้เกิดการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก ไปเปลี่ยนโครงสร้างของสารแม่เหล็ก ที่ฉาบบนแผ่นดิสก์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลขึ้น
3. แผ่นจานแม่เหล็ก ( Platters ) มีลักษณะเป็นจานเหล็กกลมๆ ที่เคลือบสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆชั้น (ขึ้นอยู่กับความจุและสารแม่เหล็กที่ว่าจะถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาวะเป็น และเพื่อจัดเก็บข้อมูล โดยจานแม่เหล็กนี้จะติดกับมอเตอร์ ที่ทำหน้าที่หมุน แผ่นจานเหล็กนี้ ปกติ Hard Disk  แต่ละตัวจะมีแผ่นดิสก์ประมาณ 1-4 แผ่นแต่ละแผ่นก็จะเก็บข้อมูลได้ทั้งด้าน
4. มอเตอร์หมุนจานแม่เหล็ก ( Spindle Moter ) เป็นมอเตอร์ที่ใช้หมุนของแผ่นแม่เหล็ก ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อความเร็วใน การหมุน ของ Hard Disk เพราะยิ่งมอเตอร์หมุนเร็วหัวอ่านก็จะเจอข้อมูลที่ต้องการเร็วขึ้น ซึ่งความเร็วที่ว่านี้จะวัดกันเป็นรอบต่อนาที ( Rovolution Per Minute หรือย่อว่า RPM ) ถ้าเป็น Hard Disk รุ่นเก่าจะหมุนด้วยความเร็วเพียง3,600รอบต่อนาที ต่อมาพัฒนาเป็น 7,200รอบต่อนาที และปัจจุบันหมุนได้เร็วถึง 10,000รอบต่อนาที การพัฒนาให้ Hard Disk หมุนเร็วจะได้ประสิทธิภาพสูงขึ้น
5. เคส ( Case ) มีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยม ใช้บรรจุกลไกต่างๆ ภายในแผ่นดิสก์เพื่อป้องกันความเสียหาย ที่เกิดจากการหยิบ จับ และป้องกันฝุ่นละออง
ชนิดของ Hard Disk แบ่งตามการเชื่อมต่อ (Interface)
1. แบบ IDE (Integrate Drive Electronics)
          Hard Disk แบบ IDE เป็นอินเทอร์เฟซรุ่นเก่า ที่มีการเชื่อมต่อโดยใช้สายแพขนาด 40 เส้น โดยสายแพ เส้นสามารถที่จะต่อ Hard Disk  ได้ ตัว บนเมนบอร์ดนั้นจะมีขั้วต่อ IDE อยู่ ขั้วด้วยกัน ทำให้สามารถพ่วงต่อ Hard Disk ได้สูงสุด ตัว ความเร็วสูงสุดในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 8.3 เมกะไบต์/ วินาที สำหรับขนาดความจุก็ยังน้อยอีกด้วย เพียงแค่504 MB


รูปแสดง 
Slot IDE บนแผงวงจร Mainboard
2. แบบ E-IDE (Enhanced Integrated Drive Electronics)
          Hard Disk แบบ E-IDE พัฒนามาจากประเภท IDE ด้วยสายแพขนาด 80 เส้น ผ่านคอนเน็คเตอร์ 40 ขาเช่นเดียวกันกับ IDE ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพ ในการทำงานให้มากขึ้น โดย Hard Disk ที่ทำงานแบบ E-IDE นั้นจะมีขนาดความจุที่สูงกว่า504 MB และความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น โดยสูงถึง 133 เมกะไบต์/ วินาที
วิธีการรับส่งข้อมูลของ Hard Disk แบบ E-IDE แบ่งออกเป็น โหมด คือ  PIO และ DMA
โหมด PIO (Programmed Input Output) เป็นการรับส่งข้อมูลโดยผ่านการประมวลผลของซีพียู คือรับข้อมูลจากHard Disk เข้ามายังซีพียู หรือส่งข้อมูลจากซีพียูไปยัง Hard Disk การทำงานในโหมดนี้จะเน้นการทำงานกับซีพียู  ดังนั้นจึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องการเข้าถึงข้อมูลใน Hard Disk  บ่อยครั้งหรือการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันในเวลาเดียวที่เรียกว่าMultitasking environment โหมด DMA (Direct Memory Access) จะอนุญาตให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่งผ่านข้อมูลหรือติดต่อไปยังหน่วยความจำหลัก (RAM) ได้โดยตรงโดยไม่ต้องติดต่อไปที่ซีพียูก่อนเหมือนกระบวนการทำงานปกติ ทำให้ซีพียูจัดการงานได้รวดเร็วขึ้น
3. แบบ SCSI (Small Computer System Interface)
          Hard Disk แบบ SCSI เป็น Hard Disk ที่มีอินเทอร์เฟซที่แตกต่างจาก E-IDE โดย Hard Disk แบบ SCSI จะมีการ์ดสำหรับควบคุมการทำงาน โดยเฉพาะ เรียกว่า การ์ด SCSI สำหรับการ์ด SCSI นี้ สามารถที่จะควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ที่มีการทำงานแบบ SCSI ได้ถึง ชิ้นอุปกรณ์ ผ่านสายแพรแบบ SCSI อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลของ แบบ SCSIมีความเร็วสูงสุด 320 เมกะไบต์/วินาที  กำลังรอบในการหมุนของจานดิสก์ปัจจุบันแบ่งเป็น 10,000 และ 15,000 รอบต่อนาที ซึ่งมีความเร็วที่มากกว่าประเภท E-IDE  ดังนั้น  Hard Disk แบบ SCSI จะนำมาใช้กับงานด้านเครือข่าย (Server) เท่านั้น
รูปแสดง อุปกรณ์ Hard Disk ที่เป็น SCSI

4. แบบ Serial ATA
          เป็นอินเทอร์เฟซที่กำลังได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน เมื่อการเชื่อมต่อในลักษณะParallel ATA หรือ E-IDE เจอทางตันในเรื่องของความเร็วที่มีความเร็วเพียง 133 เมกะไบต์/วินาทีส่วนเทคโนโลยีเชื่อมต่อรูปแบบแบบใหม่ที่เรียกว่า Serial ATA ให้อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลขั้นแรกสูงสุดถึง 150 เมกะไบต์/วินาที โดยเทคโนโลยี Serial ATA นี้ถูกคาดหวังว่าจะสามารถ ขยายช่องสัญญาณ (Bandwidth) ในการส่งผ่านข้อมูลได้เพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า และยังรองรับข้อมูลได้มากยิ่งขึ้น ไม่เฉพาะ Hard Disk เพียงเท่านั้นที่จะมีการเชื่อมต่อในรูปแบบนี้ แต่ยังรวมไปถึง อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อย่าง CD-RW หรือDVD อีกด้วย
 

รูปแสดง สายสัญญาณแบบ 
Serial ATA

          ด้วยการพัฒนาของ Serial ATA ทำให้ลดปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการส่งผ่านข้อมูลระหว่าง CPU ความเร็วสูงกับตัวHard Disk  ลงได้  ในอนาคต Serial ATA ยังแตกต่างจาก Hard Drive ที่ใช้อินเทอร์เฟซ Parallel ATA ซึ่งเป็นแบบขนาน เพราะอินเทอร์เฟซ Serial ATA นี้ มีการกำหนดให้ Hard Drive ตัวไหนเป็น Master (ตัวหลัก) หรือ Slave (ตัวรอง) ผ่านช่องเชื่อมต่อบนเมนบอร์ดโดยตรง  สามารถลดความยุ่งยากในการติดตั้งลงไป อีกทั้ง Hard Disk ประเภทนี้บางตัวยังรองรับการถอดสับเปลี่ยนโดยทันที (Hot Swap) ทำให้การเชื่อมต่อในลักษณะนี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก

ที่มาของเนื้อหาและรูปภาพ http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/harddisk.html

รอม (Rom) (READ-ONLY MEMORY)




รอม คือหน่วยความจำชนิดหนึ่ง ที่มีโปรแกรม หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้โดยตรง ซึ่งโปรแกรม หรือข้อมูลนั้นจะไม่สูญหายไป
          แม้ว่าจะไม่มีการจ่ายไฟเลี้ยงให้แก่ระบบ ข้อมูลที่เก็บอยู่ใน ROM จะสามารถอ่านออกมาได้ แต่ไม่สามารถเขียนข้อมูลเข้าไปได้ เว้นแต่จะใช้วิธีการพิเศษซึ่งขึ้นกับชนิดของ ROM

ชนิดของROM

-Manual ROM
ROM (READ-ONLY MEMORY)
          ข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน ROM จะถูกโปรแกรม โดยผู้ผลิต (โปรแกรม มาจากโรงงาน) เราจะใช้ ROM ชนิดนี้ เมื่อข้อมูลนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลง และมีความต้องการใช้งาน เป็นจำนวนมาก ผู้ใช้ไม่สามารถ เปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน ROM ได้
         โดย ROM จะมีการใช้ technology ที่แตกต่างกันตัวอย่างเช่น BIPOLAR, CMOS, NMOS, PMOS
-PROM (Programmable ROM)
PROM (PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
        ข้อมูลที่ต้องการโปรแกรมจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เอง โดยป้อนพัลส์แรงดันสูง (HIGH VOLTAGE PULSED) ทำให้ METAL STRIPS หรือ POLYCRYSTALINE SILICON ที่อยู่ในตัว IC ขาดออกจากกัน ทำให้เกิดเป็นลอจิก “1” หรือ “0” ตามตำแหน่ง ที่กำหนดในหน่วยความจำนั้นๆ เมื่อ PROM ถูกโปรแกรมแล้ว ข้อมูลภายใน จะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก หน่วยความจำชนิดนี้ จะใช้ในงานที่ใช้ความเร็วสูง ซึ่งความเร็วสูงกว่า หน่วยความจำ ที่โปรแกรมได้ชนิดอื่นๆ

-EPROM (Erasable Programmable ROM)
EPROM (ERASABLE PROGRAMMABLE READ-ONLY MEMORY)
        ข้อมูลจะถูกโปรแกรม โดยผู้ใช้โดยการให้สัญญาณ ที่มีแรงดันสูง (HIGH VOLTAGE SIGNAL) ผ่านเข้าไปในตัว EPROM ซึ่งเป็นวิธีเดียวกับที่ใช้ใน PROM แต่ข้อมูลที่อยู่ใน EPROM เปลี่ยนแปลงได้ โดยการลบข้อมูลเดิมที่อยู่ใน EPROM ออกก่อน แล้วค่อยโปรแกรมเข้าไปใหม่ การลบข้อมูลนี้ทำได้ด้วย การฉายแสง อุลตร้าไวโอเลตเข้าไปในตัว IC โดยผ่าน ทางกระจกใส ที่อยู่บนตัว IC เมื่อฉายแสง ครู่หนึ่ง (ประมาณ 5-10 นาที) ข้อมูลที่อยู่ภายใน ก็จะถูกลบทิ้ง ซึ่งช่วงเวลา ที่ฉายแสงนี้ สามารถดูได้จากข้อมูล ที่กำหนด (DATA SHEET) มากับตัว EPROM และ มีความเหมาะสม ที่จะใช้ เมื่องานของระบบ มีโอกาส ที่จะปรับปรุงแก้ไขข้อมูลใหม่

-EAROM (Electrically Alterable ROM) 
EAROM (ELECTRICALLY ALTERABLE READ-ONLY MEMORY)
          EAROM หรืออีกชื่อหนึ่งว่า EEPROM (ELECTRICAL ERASABLE EPROM) เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการลบข้อมูลใน ROM เพื่อเขียนใหม่ ซึ่งใช้เวลาสั้นกว่าของ EPROM
         การลบขึ้นอยู่กับพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกัน ดังนั้น EAROM (ELECTRICAL ALTERABLE ROM) จะอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีแบบ NMOS ข้อมูลจะถูกโปรแกรมโดยผู้ใช้เหมือนใน EPROM แต่สิ่งที่แตกต่างก็คือ ข้อมูลของ EAROM สามารถลบได้โดยทางไฟฟ้าไม่ใช่โดยการฉายแสงแบบ EPROM
          โดยทั่วไปจะใช้ EPROM เพราะเราสามารถหามาใช้ และทดลองได้ง่าย มีราคาถูก วงจรต่อง่าย ไม่ยุ่งยาก และสามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมได้ นอกจากระบบ ที่ทำเป็นการค้าจำนวนมาก จึงจะใช้ ROM ประเภทโปรแกรมสำเร็จ


ที่มาของเนื้อหา: http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/rom.html